เสาเข็มเจาะ
เสาเข็มเจาะเป็นเสาเข็มอีกประเภทหนึ่งซึ่งแตกต่างกับเสาเข็มคอนกรีตอัดแรงในลักษระของการใช้งาน กรรมวิธีในการทำ เสาเข็มเจาะค่อนข้างยุ่งยาก ซับซ้อน และจะต้องทำ ณ สถานที่ที่จะใช้งานจริงเลย โดย ใช้เครื่องมือเจาะขุดดินลงไปให้ได้ขนาดของเส้นผ่านศูนย์กลาง และความลึกของเสาเข็ม ตามที่กำหนดจากนั้นจึงใส่เหล็กเสริม และเทคอนกรีตลงไปเพื่อหล่อให้เป็นเสาเข็ม การใช้เสาเข็มเจาะ จะไม่ก่อให้เกิดแรงสั่นสะเทือ นอันอาจเป็น อันตรายต่ออาคารข้างเคียง เพราะไม่มีการตอกกระแทกของ ปั้นจั่นดังเช่นที่ใช้กับเสาเข็มคอนกรีตอัดแรง อีกทั้งขนาดของเสาเข็มเจาะ ก็อาจทำให้มี ขนาดใหญ่โดยมีขนาดของเส้นผ่านศูนย์กลางได้ ถึง 200 เซนติเมตร เพราะไม่มีปัญหาเกี่ยวกับข้อจำกัดของขนาดของปั้นจั่น และน้ำหนักของตัวเสาเข็ม ขณะที่เสาเข็มคอนกรีตอัดแรง นั้นขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่ใช้กันทั่วไปมีขนาดความกว้างของพื้นที่หน้าตัดเพียง 40 เซนติเมตรเท่านั้น อีกทั้งความลึกของ เสาเข็มเจาะก็ สามารถเจาะได้ลึกกว่าความยาวของเสาเข็มคอนกรีตอัดแรง ฉะนั้นเสาเข็มเจาะจึงเหมาะอย่างยิ่งสำหรับอาคารสูงซึ่งต้องรับน้ำหนัก มาก และอาคารที่สร้างใกล้ชิดกันเพื่อป้องกันมิให้เกิดการสั่นสะเทือนซึ่งจะเป็นอันตรายต่ออาคารข้างเคียง
โครงสร้างของฐานราก
รากฐานของบ้านเป็นสิ่งที่ให้ความมั่นคง และแข็งแรงแก่ตัวบ้าน เป็นอันดับแรก ถ้าจะเปรียบเทียบกับ ต้นไม้ใหญ่ก็เปรียบเสมือน รากแก้วของต้นไม้เลย ทีเดียว ต้นไม้ที่มีรากแก้วใหญ่ และหยั่งรากลึกลงไปในดิน ยิ่งมากเท่าไหร่ ก็ย่อมก่อให้เกิดความมั่นคงแข็งแรงแก่ต้นไม้นั้นมากขึ้นเท่านั้น บ้านก็เช่นเดียวกัน ถ้ามีฐานรากที่มั่นคงแข็งแรง ผู้อยู่อาศัยก็ย่อมอุ่นใจ ได้ว่าบ้านที่อยู่นั้น จะไม่เอียง หรือ ทรุดลงมาในภายหลัง ซึ่งผู้อ่านก็คงจะเคยได้ยินข่าว เกี่ยวกับตึกแถวที่เอียง และพังถล่มลงมา ซึ่งมีสาเหตุมาจากโครงสร้างของฐานราก ที่ไม่แข็งแรงนั่นเองส่วนประกอบที่สำคัญของโครงสร้างของฐานราก ก็คือส่วนที่อยู่ลึกที่สุดลงไปในดินนั่นก็คือเสาเข็ม ผู้ซื้อบ้านหรือผู้ปลูกบ้านส่วนใหญ่ มักจะไม่ค่อยสนใจ หรือให้ความสำคัญกับเสาเข็มมากนัก เหตุผลหนึ่งอาจเป็น เพราะเสาเข็มซ่อนอยู่ใต้ดิน เมื่อตอกลงไปแล้ว ก็หายไปไม่ได้ ปรากฏ เป็นหน้าเป็นตาของ ตัวบ้าน แต่ประการใดอีกเหตุผลหนึ่ง คงจะเป็นเพราะว่า การกำหนดว่าบ้าน แต่ละแบบ แต่ละหลังจะต้องใช้เสาเข็มชนิดใด ชนาดใด เป็นจำนวนเท่าใดนั้น จะต้องใช้ความรู้ทางด้านวิศวกรรมมาคำนวณ และกำหนดลงไป ซึ่งควรจะเป็น หน้าที่ของวิศวกรผู้ออกแบบ และผู้ควบคุมการก่อสร้าง ที่จะดำเนิน ขั้นตอนเหล่านี้ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย ผู้ซื้อบ้านหรือ ผู้ปลูกบ้านส่วนใหญ่มิได้มีพื้นความรู้ในสิ่งเหล่านี้จึงไม่น่าจะเป็น ภาระที่จะต้องมากังวล หรือสนใจกับสิ่งเหล่านี้ ความคิดเช่นนี้จะว่า ถูกหรือผิดเสียทีเดียวก็คงไม่ได้แต่ในการออกแบบหรือควบคุมการปลูกสร้างบ้านแต่ละหลัง บางครั้งก็มิใช่ ว่าจะถูกต้องสมบูรณ์ไปเสียทั้งหมด ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับมาตรฐาน ประสบการณ์ และความชำนาญของผู้ออกแบบ และผู้ควบคุมการก่อสร้าง แต่ละรายด้วย การที่ผู้ซื้อบ้านหรือผู้ปลูกบ้านมีความรู้เกี่ยวกับการสร้างบ้านบ้างก็ย่อมจะเป็นการได้เปรียบ อย่างน้อยก็เพื่อเป็น ข้อคิดหรือ ข้อสังเกต เมื่อพบสิ่งที่ผิดสังเกต หรือข้อสงสัยจะได้สามารถสอบถามเพื่อขอคำชี้แจงได้ ซึ่งทำให้เจ้าของบ้านสามารถป้องกันหรือแก้ ปัญหาต่างๆ ได้ตั้งแต่แรก เสาเข็มที่ใช้กับ อาคาร บ้านเรือนทั่วไป
โครงสร้างของฐานราก
รากฐานของบ้านเป็นสิ่งที่ให้ความมั่นคง และแข็งแรงแก่ตัวบ้าน เป็นอันดับแรก ถ้าจะเปรียบเทียบกับ ต้นไม้ใหญ่ก็เปรียบเสมือน รากแก้วของต้นไม้เลย ทีเดียว ต้นไม้ที่มีรากแก้วใหญ่ และหยั่งรากลึกลงไปในดิน ยิ่งมากเท่าไหร่ ก็ย่อมก่อให้เกิดความมั่นคงแข็งแรงแก่ต้นไม้นั้นมากขึ้นเท่านั้น บ้านก็เช่นเดียวกัน ถ้ามีฐานรากที่มั่นคงแข็งแรง ผู้อยู่อาศัยก็ย่อมอุ่นใจ ได้ว่าบ้านที่อยู่นั้น จะไม่เอียง หรือ ทรุดลงมาในภายหลัง ซึ่งผู้อ่านก็คงจะเคยได้ยินข่าว เกี่ยวกับตึกแถวที่เอียง และพังถล่มลงมา ซึ่งมีสาเหตุมาจากโครงสร้างของฐานราก ที่ไม่แข็งแรงนั่นเองส่วนประกอบที่สำคัญของโครงสร้างของฐานราก ก็คือส่วนที่อยู่ลึกที่สุดลงไปในดินนั่นก็คือเสาเข็ม ผู้ซื้อบ้านหรือผู้ปลูกบ้านส่วนใหญ่ มักจะไม่ค่อยสนใจ หรือให้ความสำคัญกับเสาเข็มมากนัก เหตุผลหนึ่งอาจเป็น เพราะเสาเข็มซ่อนอยู่ใต้ดิน เมื่อตอกลงไปแล้ว ก็หายไปไม่ได้ ปรากฏ เป็นหน้าเป็นตาของ ตัวบ้าน แต่ประการใดอีกเหตุผลหนึ่ง คงจะเป็นเพราะว่า การกำหนดว่าบ้าน แต่ละแบบ แต่ละหลังจะต้องใช้เสาเข็มชนิดใด ชนาดใด เป็นจำนวนเท่าใดนั้น จะต้องใช้ความรู้ทางด้านวิศวกรรมมาคำนวณ และกำหนดลงไป ซึ่งควรจะเป็น หน้าที่ของวิศวกรผู้ออกแบบ และผู้ควบคุมการก่อสร้าง ที่จะดำเนิน ขั้นตอนเหล่านี้ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย ผู้ซื้อบ้านหรือ ผู้ปลูกบ้านส่วนใหญ่มิได้มีพื้นความรู้ในสิ่งเหล่านี้จึงไม่น่าจะเป็น ภาระที่จะต้องมากังวล หรือสนใจกับสิ่งเหล่านี้ ความคิดเช่นนี้จะว่า ถูกหรือผิดเสียทีเดียวก็คงไม่ได้แต่ในการออกแบบหรือควบคุมการปลูกสร้างบ้านแต่ละหลัง บางครั้งก็มิใช่ ว่าจะถูกต้องสมบูรณ์ไปเสียทั้งหมด ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับมาตรฐาน ประสบการณ์ และความชำนาญของผู้ออกแบบ และผู้ควบคุมการก่อสร้าง แต่ละรายด้วย การที่ผู้ซื้อบ้านหรือผู้ปลูกบ้านมีความรู้เกี่ยวกับการสร้างบ้านบ้างก็ย่อมจะเป็นการได้เปรียบ อย่างน้อยก็เพื่อเป็น ข้อคิดหรือ ข้อสังเกต เมื่อพบสิ่งที่ผิดสังเกต หรือข้อสงสัยจะได้สามารถสอบถามเพื่อขอคำชี้แจงได้ ซึ่งทำให้เจ้าของบ้านสามารถป้องกันหรือแก้ ปัญหาต่างๆ ได้ตั้งแต่แรก เสาเข็มที่ใช้กับ อาคาร บ้านเรือนทั่วไป